สถานที่ท่องเที่ยว
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติภูแลนคา เป็นกลุ่มหินขนาดใหญ่จำนวน 3 กลุ่ม โดยจะมีหินทรายก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งเป็นสีขาวและโดดเด่นในพื้นที่ และเป็นที่มาของคำว่า มอหินขาว และในบริเวณยังมีเสาหินขนาดใหญ่จำนวน 5 เสา ตั้งเรียงรายกันเป็นแถว มีความสูงประมาณ 12 เมตร นอกจากนั้นยังมีแท่นหินที่มีรูปร่างคล้ายเรือ เจดีย์ หอเอียงเมืองปิซ่า และคล้ายกระดองเต่า ซึ่งจัดเป็นกลุ่มหินที่ 1 กลุ่มหินที่ 2 อยู่ห่างออกไป แท่นหินจะมีรูปร่างแปลกแตกต่างกันออกไป และเมื่อห่างออกไปอีกประมาณ 1,500 เมตร จะเป็นกลุ่มหินที่ 3 ที่เป็นแท่นหินและเสาหินขนาดเล็ก โดยลาดเอียงขึ้นไปจดหน้าผาที่มีชื่อว่า ผาหัวนาก และบริเวณมอหินขาวยังเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ
ที่มาของชื่อ มอหินขาว: เดิมพื้นที่แถวนี้เป็นป่า ต่อมาได้มีคนมาบุกเบิกทำไร่ และก็เห็นมีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่ทั่วไปแต่ ก็ไม่ได้สนใจอะไร ที่ไร่มันสำปะหลัง (ในสมัยนั้น) ของลุงก็มีก้อนหินใหญ่ขึ้นทั่วไป แต่ที่ลุงเห็นว่าแปลกประหลาดมาก ก็คือก้อนหินใหญ่ 5 ก้อน ที่ในทุกคืนวันพระ (15 ค่ำ, 8 ค่ำ) จะมีแสงสีขาวส่องขึ้นมา คนเฒ่าคนแก่สมัยนั้น เลยเรียกที่นี่ว่ามอหินขาวสโตนเฮนจ์ เมืองไทย“เสาหินและแท่งหิน ที่มอหินขาวส่วนใหญ่เป็นหินทรายสีขาว นอกจากนี้ก็ยังมี หินทรายแป้ง หินโคลน หินทรายสีม่วง ซึ่งสันนิษฐานว่าก้อนหินขนาดยักษ์เหล่านี้มีอายุประมาณ 175-195 ล้านปี และเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนทรายแป้งและดินเหนียว
กลุ่มหินของมอหินขาวกลุ่มที่โดดเด่นที่สุด คือ กลุ่มหินแรกที่มีเสาหินขนาดใหญ่ 5 ต้นเรียงรายกันอยู่ เสาหินเหล่านี้มีความสูงราว 12 เมตร ต้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดต้องใช้คนโอบไม่น้อยกว่า 20 คน เชื่อว่าที่นี่จะได้รับความนิยมในบ้านเราในเวลาไม่นานนัก
เวลาเปิด – ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
การเดินทาง : ใช้ทางหลวงหมายเลข 2051 ตามถนนสายชัยภูมิ-น้ำตกตาดโตน ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร แยกเลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางไปท่าหินโงม เป็นทางลาดยางขึ้นเขาประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงสามแยกทางไปบ้านแจ้งเจริญ-โสมเชือก 6.5 กิโลเมตร ผ่านบ้านวังคำแคน จะถึงบริเวณที่ตั้งของหินขนาดใหญ่ จำนวนหลายแท่งและกลุ่มหินอีกจำนวนมาก ขนาดลดหลั่นกันใหญ่บ้างเล็กบ้าง ขึ้นอยู่ประปรายในพื้นที่เทือกเขา "ภูแลนคา" รวมระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร
น้ำตกตาดโตน
น้ำตกตาดโตน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดชัยภูมิ ห่างจากตัวจังหวัดชัยภูมิไปทางทิศเหนือ 21 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่สวยงาม ที่ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติตาดโตน ใกล้ที่ทำการอุทยานฯ มีน้ำไหลตลอดปี โดย เฉพาะในฤดูฝนจะสวยงามเป็นพิเศษ ด้านบนเป็นธารน้ำไหลผ่านลานหินสองฝั่งธารร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ เหมาะที่ จะนั่งพักผ่อนชมธรรมชาติและเล่นน้ำ ด้านบนน้ำตกมีสภาพเป็นลานหินกว้างประมาณ 50 เมตร และยาวไปตาม ลำน้ำ ประมาณ 300 เมตร ทำให้น้ำไหลลาดมาตามลานหิน มีแอ่งน้ำที่สามารถเล่นน้ำได้เป็นจุดๆ และไหลลงมาตก ที่หน้าผาเป็นน้ำตกตาดโตนที่มีความสูงประมาณ 6 เมตร และกว้าง 50 เมตร ในฤดูฝน ( ประมาณเดือนมิถุนายน - กันยายน )
บริเวณน้ำตกตาดโตนมี ศาลเจ้าพ่อตาดโตน (ศาลปู่ด้วง) มีประวัติว่า เจ้าพ่อตาดโตนเป็นคนเชื้อสายเขมรอพยพเข้าเมืองไทย ในเวลาใกล้เคียงกับพ่อพระยาแล (พระยาภักดีชุมพล) ท่านบำเพ็ญตนเป็นชีปะขาวยึดมั่นในสมถะ กรรมฐาน ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และช่วยรักษาคนไข้ เป็นที่นับถือเลื่อมใสของราษฎรมาก เมื่อถึงแก่กรรมจึง มีการสร้างศาลขึ้นเพื่อเป็นที่เคารพสักการะไว้หลายแห่ง นอกจากที่น้ำตกตาดโตนแล้วยังมีศาลปู่ด้วงที่ช่อง สาม หมอกและที่วัดชัยภูมิพิทักษ์อีกด้วย มักมีประเพณีรำผีฟ้า ผีทรงบวงสรวงเจ้าพ่อเป็นประจำ มีทางลาดยางตลอดถึงน้ำตก
สิ่งอำนวยความสะดวก : มีบ้านพักและสถานที่กางเต้นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยวในบริเวณน้ำตกจะมีร้านคาราโอเกะและอาหาร ให้คนที่อยาก เปลี่ยนบรรยากาศ คนส่วนมากจะมาที่นี่กันในหน้าแล้งของทุกปีเพื่อคลายร้อนกัน จึงไม่แปลกที่จะเห็นทั้งเด็กและ ผู้ใหญ่แม้กระทั่งวัยไม้ไกล้ผั่ง เพราะบรรยากาศร่มรื่นความ เย็นสบาย แถมมีร้านขาย ของ คอยบริการโทรศัพท์ : (0) 1926 48
สิ่งอำนวยความสะดวก : มีบ้านพักและสถานที่กางเต้นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยวในบริเวณน้ำตกจะมีร้านคาราโอเกะและอาหาร ให้คนที่อยาก เปลี่ยนบรรยากาศ คนส่วนมากจะมาที่นี่กันในหน้าแล้งของทุกปีเพื่อคลายร้อนกัน จึงไม่แปลกที่จะเห็นทั้งเด็กและ ผู้ใหญ่แม้กระทั่งวัยไม้ไกล้ผั่ง เพราะบรรยากาศร่มรื่นความ เย็นสบาย แถมมีร้านขาย ของ คอยบริการโทรศัพท์ : (0) 1926 48
เวลาเปิด – ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
การเดินทาง
โดยรถยนต์ส่วนตัว : จากตัวเมืองทางหลวงหมายเลข 2159 และแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2051 ระยะทางจากตัวเมืองถึงที่ทำ การอุทยานฯ ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร หรืออาจใช้เส้นทางหมายเลข 201 ทางไปอำเภอภูเขียว จะมีเส้น ทางแยกซ้ายอีก 21กิโลเมตรไปน้ำตกตาดโตนได้เช่นกัน
โดยรถโดยสารประจำทาง : สำหรับผู้ที่เดินทางโดยรถโดยสาร สามารถใช้บริการรถสองแถวสายชัยภูมิ-ท่าหินโงม ลงที่ด่านเก็บค่าธรรมเนียม แล้วเดินเท้า อีก 1 กิโลเมตรถึงที่ตั้งอุทยานเดินเข้าน้ำตกcตาดโตนประมาณ 500 เมตร ตามถนนราดยาง หรือเดิน ลัดเลาะตามโขด
ทุ่งดอกกระเจียว
ทุ่งดอกกระเจียว ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอ เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ที่นี่นอกจะเป็น ทุ่งดอกกระเจียวถือเป็นไฮไลต์ที่เด่นที่สุดของการมาท่องเที่ยวที่นี่การมาเที่ยวชมที่นี่ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับทุ่งบัวสวรรค์หรือ ดอกกระเจียว ราชินีแห่งมวลไม้ดอกของขุนเขาป่าหินงาม ออกดอกสีชมพูอมม่วง ที่จะทยอยผลิบานเป็นระยะเวลา 2 เดือน ที่ออกปีละครั้ง ชูช่อล้อสายลมและสายหมอก ขึ้นเต็มทั่วผืนป่า ทุ่งดอกกระเจียว ถือเป็นไฮไลต์ท่องเที่ยวช่วงฤดูฝนแห้งแล้ง จะกลับคืนสู่ความเขียวขจี และแต่งแต้มด้วยความ สดใสของกระเจียวที่ผิดอกสีชมพูเต็มทุ่งหญ้ากว้าง ด้วยความงดงามตระการตาของ ดอกสีชมพูอมม่วงขึ้นเต็มไป ทั่วผืนป่า ตัดกับพื้นสีเขียวขจีของหญ้าเพ็ก และโขดหินธรรมชาติ อีกทั้งรูปลักษณ์สวยงามวิจิตรพิสดาร ทำให้เป็นทุ่งดอกกระเจียวใน อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม เป็นทุ่งดอกกระเจียวที่ใหญ่และงดงามที่สุดในประเทศไทย
เวลาเปิด – ปิด : เปิดประจำทุกปี ในช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม
เวลาเปิด – ปิด : เปิดประจำทุกปี ในช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม
การเดินทาง : ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 เมื่อถึงพุแคให้เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 21 จนถึงอำเภอชัยบาดาลให้เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 205 จนถึงอำเภอเทพสถิต ให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 2354 ไปประมาณ 18 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือ มีป้ายบอกไปอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม เลี้ยวซ้ายไปตามถนนลาดยางอีก 13 กิโลเมตรก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ปรางค์กู่
ปรางค์กู่เป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่ง ที่มีแผนผังและลักษณะเหมือนกับโบราณสถานที่ได้พบหลักฐานว่าเป็นอโรคยาศาล ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ก็คือ มีองค์ประธานอยู่ตรงกลาง 1 องค์ บรรณาลัยด้านหน้า 1 หลัง ล้อมด้วยกำแพงซึ่งมีโคปุระเฉพาะด้านหน้าทั้งหมด ก่อด้วยอิฐศิลาแลงยกเว้นกรอบประตูหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับล้วนเป็นหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปรางค์มีสระน้ำ 1 สระ ยังคงสภาพสมบูรณ โดยเฉพาะองค์ประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5 เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตา ด้านหน้ามีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนมาก ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง 1.75 เมตร หน้าตักกว้าง 7.5 เมตร ประดิษฐานอยู่ 1 องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น
เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
การเดินทาง : ใช้ทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ 1 กิโลเมตรจะมีทางแยกเลี้ยวขวาเข้าปรางค์กู่ตามทางหลวงหมายเลข 2158 เป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร โดยจะเห็นวัด (ศาสนสถาน)ชื่อว่าวัดปรางค์กู่ฃ
ใบเสมาบ้านกุดโง้ง เป็นสถานที่รวบรวมใบเสมาที่พบในบริเวณรอบๆ หมู่บ้าน โดยนำมาเก็บรักษาไว้ในอาคารไม้ที่ปลูกสร้างทางด้านซ้ายของโรงเรียนบ้านกุดโง้ง ใบเสมาทั้งหมดทำด้วยหินทราย มีลักษณะเป็นแผ่นขนาดค่อนข้างใหญ่ และบางแผ่นมีจารึกอยู่ที่ด้านหลังด้วย เฉพาะที่สลักลวดลายเก้บรักษาไว้ในอาคาร ชนิดแผ่นเรียบและรูปสถูปปักไว้ที่พื้นด้านนอก ส่วนมากลวดลายเอป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนาเรื่องชาดกตอนต่างๆ มี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-15
เวลาเปิด – ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
การเดินทาง : ใช้ทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ 12 กม. ถึงบ้านกุดตุ้มเลี้ยวขวาเข้าทางสายกุดตุ้ม-บุ้งคล้า เข้าไปตามทางจนถึงหมู่บ้านกุดโง้ง
พระธาตุหนองสามหมื่น
พระธาตุหนองสามหมื่น เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญและน่าสนใจมากแห่งหนึ่งของชัยภูมิ ตั้งอยู่ที่บ้านแก้ง พระธาตุหนองสามหมื่น เรียกชื่อตามหนองน้ำ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระธาตุที่มีลักษณะสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชแห่งราชอาณาจักรลาว พระธาตุหนองสามหมื่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความสูงประมาณ 45 เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน เหนือฐานเขียงเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์พระธาตุ ซึ่งมีซุ้มทั้งสี่ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง และปางลีลา ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รูปแบบดังกล่าวอาจเปรียบเทียบได้กับพระธาตุอื่นๆ ทั้งในนครเวียงจันทน์และในเขตไทย เช่น พระธาตุวัดเทพพล เมืองเวียงคุก จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีเมือง นครเวียงจันทน์ เป็นต้น
ประเพณีรำผีฟ้า เป็นการรำบวงสรวงเป็นกลุ่มๆ ที่ภูพระ ซึ่งมีพระเจ้าองค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปแกะสลักหินทราย สูงประมาณ 2 เมตร ชาวบ้านเชื่อว่า มีความศักดิ์สิทธิ์มาก การรำบวงสรวงนี้ จะมีขึ้นในระหว่างวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 5 คือเดือนเมษายน และในวันเข้าพรรษา วันออกพรรษา ซึ่งจะมีประชาชนไปทำบุญเป็นจำนวนมาก
เวลาเปิด – ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
การเดินทาง : ใช้ทางหลวงหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูเขียวไปจนถึงบ้านหนองสองห้องระยะทาง 80 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2055 ประมาณ 9 กิโลเมตร ถึงบ้านแก้งเลี้ยวซ้ายไปวัดพระธาตุหนองสามหมื่นระยะทาง 5 กิโลเมตร
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ป่าในเขตอำเภอคอนสาร เกษตรสมบูรณ์ และหนองบัวแดง มีพื้นที่ประมาณ 1,125,000 ไร่ ดูแลด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า การเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง เก้ง กวาง และเนื้อทราย เป็นต้นโดยปล่อยสัตว์ให้อาศัยอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ สามารถสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ได้เอง
ได้มีการจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติสำหรับผู้สนใจศึกษาธรรมชาติอย่างใกล้ชิด สถานที่น่าสนใจในเขตรักษาพันธุ์ฯ ได้แก่ ทุ่งกระมัง ,ลำน้ำพรม,น้ำตกตาดคร้อ,น้ำตกห้วยหวาย,น้ำตกนาคราช และผาเทวดา
เวลาเปิด – ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน 08.00–15.00 น.
การเดินทาง : ไปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวใช้เส้นทางเดียวกับเขื่อนจุฬาภรณ์ ก่อนถึงเขื่อน 3 กิโลเมตร มีทางเลี้ยวซ้ายจากด่านตรวจ (ปางม่วง) ไปยังที่ทำการเขตฯ อีก 24 กิโลเมตร
ค่าใช้จ่าย : ผู้ใหญ่คนละ 20 บาท นักเรียนคนละ 10 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท รถยนต์คันละ 30 บาท จักรยานคันละ 10 บาท จักรยานยนต์คันละ 20 บาท รถหกล้อ 100 บาท
จุดชมวิวเทือกเขาพังเหย
เทือกเขาพังเหย อยู่ริมทางหลวงหมายเลข 225 (ชัยภูมิ-นครสวรรค์) ประมาณกิโลเมตรที่ 70 เป็นที่แวะจอดพักรถยนต์และชมทิวทัศน์ข้างทาง มีร้านขายของท้องถิ่นของชาวชนบท จะเห็นทิวทัศน์ช่วงยามเย็นอาทิตย์อัสดง นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีเวลาน้อยได้เดินชมทุ่งบัวสวรรค์ขนาดเล็ก ๆ และเดินศึกษาธรรมชาติเองอีกด้วย
มีชมทิวทัศน์ข้างทาง มีร้านขายของท้องถิ่นของชาวชนบท จะเห็นทิวทัศน์ช่วงยามเย็นอาทิตย์อัสดง นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีเวลาน้อยได้เดินชมทุ่งบัวสวรรค์ขนาดเล็ก ๆ และเดินศึกษาธรรมชาติเองอีกด้วย
วันเวลาเปิด – ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
การเดินทาง : ใช้ทางตามทางหลวงหมายเลข 1 เมื่อถึงพุแคให้เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 21 จนถึงอำเภอชัยบาดาลให้เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 205 จนถึงอำเภอเทพสถิต ให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 2354 ไปประมาณ 18 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือ มีป้ายบอกไปอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม เลี้ยวซ้ายไปตามถนนลาดยางอีก 13 กิโลเมตรก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ถ้ำแก้ว
ถ้ำแห่งนี้อยู่ภายในบริเวณวัดถ้ำแก้ว ลักษณะของถ้ำคล้ายห้องโถงลึกลงไปในภูเขา บรรยากาศเย็นและชื้นตลอดเวลา มีไฟฟ้าให้แสงสว่างภายในถ้ำ จากปากถ้ำมีทางเดินลงลึกไปถึงด้านล่าง ซึ่งมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่และมีหินย้อย อยู่ตามผนังถ้ำ เมื่อต้องแสงเกิดเป็นประกายแวววาวสวยงาม
เวลาเปิด – ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
การเดินทาง : จากอำเภอภักดีชุมพลไปทางทิศเหนือ 9 กิโลเมตร ตามทางหลวง 2359 ถึงบ้านซับเจริญมีทางเลี้ยวซ้ายไปอีก 5 กิโลเมตร
ผาเกิ้ง
ผาเกิ้ง เป็นชื่อของหน้าผาที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นมาเป็นเวลานาน เพราะตั้งอยู่ระหว่างภูเขาสองลูกมาบรรจบกัน บางครั้งอาจจะมีผู้คนเรียกตรงนี้ว่าช่องบุญกว้าง แต่ชื่อที่เรียกติดปากชาวบ้านทั่วไป คือ ผาเกิ้ง ซึ่งมีความหมายว่า ผาที่มีลักษณะเหมือนพระจันทร์ เพราะที่บริเวณหน้าผานั้น มีหินก้อนใหญ่เป็นชะง่อยยื่นออกไป ลักษณะครึ่งวงกลม ชาวบ้านมองดูแล้ว เหมือนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว จึงเรียกผานี้ว่า ผาเกิ้ง คำว่า เกิ้ง เป็นคำภาษาอิสานแท้ ซึ่งชาวภาคอิสานเรียกดวงจันทร์ว่า "อีเกิ้ง"
วันเวลาเปิด – ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
การเดินทาง : ผาเกิ้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 36 กิโลเมตร ริมหลวงหมายเลข 2159 (ชัยภูมิ-หนองบัวแดง) เป็นส่วนหนึ่งของภูแลนคา
เขื่อนจุฬาลงกรณ์
เขื่อนจุฬาภรณ์ (เขื่อนน้ำพรม) ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร สร้างปิดกั้นลำน้ำพรมบนเทือกเขาขุนพาย ลักษณะเขื่อนเป็นเขื่อนหินทิ้ง แกนกลางเป็นดินเหนียว ตัวสันเขื่อนยาว 700 เมตร ความสูงจากฐานราก 70 เมตร เป็นลักษณะเขื่อนเอนกประสงค์ ในความดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าและ ยังอำนวยประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม ในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดอีกด้วย นอกจากนี้ บริเซรโดยรอบของเขื่อนยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกคือ
พระพุทธสิริสัตตราชจำลอง (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) ประดิษฐานที่บริเวณหัวเขื่อนฝั่งซ้าย ตรงข้ามสวนเขื่อนจุฬาภรณ์ สวนเขื่อนจุฬาภรณ์ ตกแต่งเป็นป่าอนุรักษ์ ในพื้นที่ประมาณ 41 ไร่ มีไม้ป่านานาชาติพร้อมศาลาพรมพิสมัยสำหรับนั่งพักผ่อน ทางเดินภายในสวนปูพื้นด้วยหินธรรมชาติ มีพืชโบราณ 325 ล้านปี เป็นพืชตระกูลหญ้ามี 2 สายพันธุ์ คือ สามร้อยยอดและสนหางม้าหรือหญ้าถอดปล้อง
ศาลาชมวิวหลุบควน เป็นจุดชมวิวอยู่ที่ระดับความสูง 800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีสถานที่กางเต็นท์พักแรมและแคมป์ไฟ บริเวณริมอ่างเก็บน้ำ
สถานริมน้ำข้างพระตำหนัก มีบรรยากาศสงบร่มรื่น สามารถมองเห็นสันเขื่อนได้ นอกจากนี้ยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆอีกเช่น ทุ่งกะมัง สถานีวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว สวนรุกขชาติน้ำผุดทับลาว ถ้ำค้างคาวภูผาม่าน เป็นต้น
สิ่งอำนวยความสะดวก : ภายในบริเวณเขื่อนมีบ้านพัก ร้านอาหารไว้รับรองนักท่องเที่ยว เรือสำหรับให้ล่องชมอ่างเก็บน้ำ มีจุดชมวิวทิวทัศน์เหนือเขื่อน ศูนย์ทดลองพืชเมืองหนาว และหอดูดาว ติดต่อบ้านพักรับรองของกฟผ. โทร. 0 2436 6046-8, 0 4486 1669 ต่อ 2287 ,2293 บริการสนามกอล์ฟ ติดต่อได้ที่ โทร. 0 4338 4969 ต่อ 2630
การเดินทาง : จากตัวเมืองชัยภูมิ ใช้เส้นทางสายชัยภูมิ-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 201) ถึงทางแยกหนองสองห้อง เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 2055 รวมระยะทางจากตัวเมืองชัยภูมิประมาณ 120 กิโลเมตร หรือหากเดินทางมาตามเส้นทางสายหล่มสัก-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12) เมื่อถึงบริเวณอำเภอคอนสารมีทางแยกไปเขื่อนจุฬาภรณ์อีก 39 กิโลเมตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น