วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559


ประวัติจังหวัดชัยภูมิ


      สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองชัยภูมิ ปรากฏในทำเนียบแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ว่าเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมาแต่ต่อมาผู้คนได้อพยพออกไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่อื่น และ พ.ศ.2360 "นายแล"ข้าราชการสำนักเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทร์ได้อพยพครอบครัวและบริวารเดินทางข้ามลำน้ำโขง มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองน้ำขุ่น (หนองอีจาน) ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2362 เมื่อมีคนอพยพเข้ามาอยู่มาก นายแลก็ได้ย้ายชุมชนมาตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 6 กิโลเมตร นายแลได้เก็บส่วยผ้าขาวส่งไปบรรณาการเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ จนได้รับบำเหน็จความชอบแต่งตั้งเป็น "ขุนภักดีชุมพล" ในปี พ.ศ. 2365 นายแลได้ย้ายชุมชนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากที่เดิมกันดารน้ำ มาตั้งใหม่ที่บริเวณบ้านหลวง ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างหนองปลาเฒ่ากันหนองหลอด เขตอำเภอเมืองชัยภูมิ ปัจจุบัน และได้หันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยทองคำถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ยอมขึ้นต่อเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์อีกต่อไปจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกบ้านหลวงเป็นเมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งขุนภักดีชุมพล (แล) เป็น "พระยาภักดีชุมพล" เจ้าเมืองคนแรกต่อมาเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ได้ก่อการกบฏ ยกทัพเข้ามาหมายจะตีกรุงเทพฯ โดยหลอกหัวเมืองต่าง ๆ ที่เดินทัพมาว่าจะมาช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ จนกระทั่งเจ้าอนุวงศ์สามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้เมื่อปี พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งต่อมา เมื่อความแตกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ได้กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมา เพื่อนำไปยังเมืองเวียงจันทร์ เมื่อไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์ หญิงชายชาวเมืองที่ถูกจับโดยการนำของคุณหญิงโม ภรรยาเจ้าเมืองนครราชสีมา ได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้ พระยาภักดีชุมพลเจ้าเมืองชัยภูมิพร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ยกทัพออกไปสมทบกับคุณหญิงโม ตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์จนแตกพ่ายไปฝ่ายกองทัพลาวส่วนหนึ่งล่าถอยจากเมืองนครราชสีมาเข้ายึดเมืองชัยภูมิไว้ และเกลี้ยกล่อมให้พระยาภักดีชุมพล (แล) เข้าร่วมเป็นกบฏด้วย แต่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอมเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์เกิดความแค้น จึงจับตัวพระยาภักดีชุมพลมาประหารชีวิตที่บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่ริมหนองปลาเฒ่า ซึ่งต่อมาชาวชัยภูมิได้ระลึกถึงคุณความดีที่ท่านมีความซื่อสัตย์และเสียสละต่อแผ่นดิน จึงได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้น ณ บริเวณนั้น ปัจจุบันทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทยชื่อว่า "ศาลาพระยาภักดีชุมพล (แล)" มีรูปหล่อของท่านอยู่ภายใน เป็นที่เคารพกราบไว้และถือเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัด ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดชัยภูมิประมาณ 3 กิโลเมตร

       ที่ตั้งและอณาเขต
          จังหวัดชัยภูมิ ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงบริเวณใจกลางของประเทศ บริเวณเส้นรุ้งที่15 องศาเหนือ เส้นแวงที่ 102 องศาตะวันออก อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 631 ฟุต ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ 332 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 12,778.3 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,986,429 ไร่คิดเป็นร้อยละ 7.6 ของพื้นที่ทั้งหมดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 2.5 ของพื้นที่ทั้งประเทศ มีพื้นที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นลำดับที่ 7 ของประเทศ

       ลักษณภููมิประเทศ           
           จังหวัดชัยภูมิมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง บริเวณตอนกลางของจังหวัดเป็นพื้นที่ราบ พื้นที่ครึ่งหนึ่งของจังหวัดเป็นป่าไม้และภูเขา นอกจากนั้นเป็นที่ราบสูง มีพื้นที่ป่าไม้และเทือกเขาตั้งเรียงรายจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก ประกอบด้วยเทือกเขาสำคัญคือ ภูเขียว ภูแลนคา และภูพังเหย ด้วยลักษณะดังกล่าวจึงทำให้พื้นที่จังหวัด ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนเหนือ มีอำเภอหนองบัวแดง แก้งคร้อ บ้านแท่น เกษตรสมบูรณ์ ภูเขียว คอนสารและภักดีชุมพลส่วนใต้ มีอำเภอเมืองชัยภูมิ บ้านเขว้า จัตุรัส บำเหน็จณรงค์ เทพสถิต หนองบัวระเหว คอนสวรรค์ อำเภอเนินสง่า และกิ่งอำเภอซับใหญ่
    

วัฒนธรรม ประเพณี

    งานฉลองอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล



       ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัด และสี่แยกอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล ช่วงเดือนมกราคมของทุกปี มีขบวนแห่สักการะอนุสาวรีย์เจ้าพ่อ ขบวนถวายช้างแด่เจ้าพ่อ และขบวนแห่ของอำเภอต่างๆ มีการประกวดผลิตผลทางการเกษตร

        ประเพณีรำผีฟ้า



          เป็นการรำบวงสรวงเป็นกลุ่มๆ ที่ภูพระ ซึ่งมีพระเจ้าองค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปแกะสลักหินทราย ที่ชาวบ้านเชื่อว่า มีความศักดิ์สิทธิ์มาก จะมีขึ้นในระหว่างวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 5 คือเดือนเมษายน และในวันเข้าพรรษา วันออกพรรษา

        งานบุญเดือนสี่


       เป็นงานประเพณีของชาวอำเภอคอนสาร ในวันขึ้น 1-3 ค่ำ เดือน 5 ราวกลางเดือนมีนาคม ในงานนี้ชาวบ้านจะนิยมเล่นสะบ้า แข่งขันกันเพื่อชิงรางวัล และความสนุกสนานในบริเวณวัดเจดีย์ อำเภอคอนสาร

        ประเพณีแห่กระธูป


          
          งานโฮมบุญแห่กระธูปเทศกาลออกพรรษา  วันออกพรรษา ของทุกปี ณ ทุ่งหลวงศิริ   อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

        ประเพณีแห่นาคโหด แห่งเดียวในโลก



       ประเพณีแห่นาคโหด ที่บ้านโนนเสลาถือเป็นประเพณีโบราณและปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาหลายร้อยปีหลายชั่วคนที่มีแห่งเดียวในโลก เพื่อที่ชาวบ้านจะได้มาร่วมกันจัดงานอุปสมบทหมู่ให้กับคนหนุ่มบุตรหลานในหมู่บ้านที่มีอายุครบ 20 ปี ถือเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ แรม 15 ค่ำ ของเดือนหกเป็นประจำทุกปี
       เพื่อให้ลูกหลานได้บวชแทนคุณบิดามารดา ด้วยความตั้งใจของผู้ประสงค์จะบวชเอง ซึ่งจะมีการเตรียมตัวมาตั้งแต่เดือนสี่ ผู้เป็นบิดาจะพาบุตรชายไปฝากไว้กับเจ้าอาวาส ใน 2 วัดของหมู่บ้านโนนเสลา คือวัดบุญถนอมพัฒนาราม(วัดนอก) และวัดตาแขก(วัดใน) เพื่อถือขัน 5 ประกอบด้วยเทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ ไปฝากตัวเป็นนาคปฏิบัติธรรมถือศีล 8 อยู่ที่วัด เรียนรู้บทสวดที่จะบวช และเรียนรู้พระธรรมวินัยเบื้องต้น ก่อนถึงกำหนดวันบวชของประเพณีงานบุญเดือนหก
        ซึ่งถือว่าวันแห่นาคโหด จะเป็นวันสำคัญในการที่ประชาชนทุกคนในหมู่บ้านจะต้องออกมามีร่วมรวมแห่นาคเข้าวัด ที่เป็นตำนานของประเพณีแห่นาคแบบแปลกประหลาดและโหดที่สุด ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน โดยจะใช้คนหนุ่มที่ยังไม่ได้บวชของแต่ละหมู่บ้านที่มีรุ่นพี่บวช มาช่วยกันหามแข้ไม้ไผ่ แห่นาคไปรอบหมู่บ้าน และเขย่า โยนนาค อย่างรุนแรง เพื่อความสนุกสนาน และถือเป็นการทดสอบความตั้งใจว่าผู้บวชจะมีความมุ่งมั่นอดทนจริงจังที่จะบวชแทนคุณบิดามารดา หรือไม่ ที่จะต้องประคองตัวเองคือผู้ที่จะบวชไม่ให้ตกลงมาจากแข้ไม้ไผ่หามให้ได้ เพราะถ้าใครตกลงมาถูกพื้นดินจะถือว่าขาดคุณสมบัติไม่ให้บวช ในตลอดระยะเส้นทางแห่รอบหมู่บ้านก่อนเข้าวัดทำพิธีบวช ระยะทางกว่า 3 กิโลเมตรให้ได้
        ซึ่งตั้งแต่ที่มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างจริงจังมากขึ้นตั้งแต่ปี 2514 มาจนวันนี้ ถือว่ายังไม่มีผู้ใดที่ตกลงมาถูกดินและสามารถเข้าพิธีบวชได้ทุกราย ถึงแม้จะมีการได้รับบาดเจ็บถึงขั้นศรีษะแตกและแขนหลุดบ้างก็มีหลวงพ่อจำปี สุจินโน เจ้าอาวาสวัดตาแขก กล่าวว่า ประเพณีแห่นาคโหด ชาวบ้านโนนเสลาถือเป็นงานประจำปีปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน ซึ่งผู้บวชเองที่เข้าร่วมพิธีเอง ถือว่าถ้าไม่โหดก็ไม่บวช และทาง อบต.หนองตูม เองก็เข้ามาช่วยส่งเสริมก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ชาวบ้านเห็นร่วมกัน
       ซึ่งเรามีหน้าที่บำรุงพระพุทธศาสนา และการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ทั้งหมดช่วยกันเตรียมงานมาต่อเนื่องนับเดือนเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ลูกหลานคนในชุมชนได้ปฏิบัติตนในสิ่งงามก่อนเข้าวัด และการแห่นาคโหดที่ชาวบ้านจะพากันเขย่าหามนาคอย่างแรงนั้น เพื่อที่จะทำให้นาคนึกถึงความอดทน เข้มแข็ง และจะสามารถบวชสืบทอดพระพุทธศาสนาโดยผ่านอุปศักดิ์ไปด้วยดีได้


    สถานที่ท่องเที่ยว
     มอหินขาว ชัยภูมิ





                       ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติภูแลนคา เป็นกลุ่มหินขนาดใหญ่จำนวน 3 กลุ่ม โดยจะมีหินทรายก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งเป็นสีขาวและโดดเด่นในพื้นที่ และเป็นที่มาของคำว่า มอหินขาว และในบริเวณยังมีเสาหินขนาดใหญ่จำนวน 5 เสา ตั้งเรียงรายกันเป็นแถว มีความสูงประมาณ 12 เมตร นอกจากนั้นยังมีแท่นหินที่มีรูปร่างคล้ายเรือ เจดีย์ หอเอียงเมืองปิซ่า และคล้ายกระดองเต่า ซึ่งจัดเป็นกลุ่มหินที่ 1 กลุ่มหินที่ 2 อยู่ห่างออกไป แท่นหินจะมีรูปร่างแปลกแตกต่างกันออกไป และเมื่อห่างออกไปอีกประมาณ 1,500 เมตร จะเป็นกลุ่มหินที่ 3 ที่เป็นแท่นหินและเสาหินขนาดเล็ก โดยลาดเอียงขึ้นไปจดหน้าผาที่มีชื่อว่า ผาหัวนาก และบริเวณมอหินขาวยังเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ
                      ที่มาของชื่อ มอหินขาว: เดิมพื้นที่แถวนี้เป็นป่า ต่อมาได้มีคนมาบุกเบิกทำไร่ และก็เห็นมีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่ทั่วไปแต่ ก็ไม่ได้สนใจอะไร ที่ไร่มันสำปะหลัง (ในสมัยนั้น) ของลุงก็มีก้อนหินใหญ่ขึ้นทั่วไป แต่ที่ลุงเห็นว่าแปลกประหลาดมาก ก็คือก้อนหินใหญ่ 5 ก้อน ที่ในทุกคืนวันพระ (15 ค่ำ8 ค่ำ) จะมีแสงสีขาวส่องขึ้นมา คนเฒ่าคนแก่สมัยนั้น เลยเรียกที่นี่ว่ามอหินขาวสโตนเฮนจ์ เมืองไทยเสาหินและแท่งหิน ที่มอหินขาวส่วนใหญ่เป็นหินทรายสีขาว นอกจากนี้ก็ยังมี หินทรายแป้ง หินโคลน หินทรายสีม่วง ซึ่งสันนิษฐานว่าก้อนหินขนาดยักษ์เหล่านี้มีอายุประมาณ 175-195 ล้านปี และเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนทรายแป้งและดินเหนียว
 กลุ่มหินของมอหินขาวกลุ่มที่โดดเด่นที่สุด คือ กลุ่มหินแรกที่มีเสาหินขนาดใหญ่ 5 ต้นเรียงรายกันอยู่ เสาหินเหล่านี้มีความสูงราว 12 เมตร ต้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดต้องใช้คนโอบไม่น้อยกว่า 20 คน เชื่อว่าที่นี่จะได้รับความนิยมในบ้านเราในเวลาไม่นานนัก
                   เวลาเปิด – ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
                   การเดินทาง : ใช้ทางหลวงหมายเลข 2051 ตามถนนสายชัยภูมิ-น้ำตกตาดโตน ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร แยกเลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางไปท่าหินโงม เป็นทางลาดยางขึ้นเขาประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงสามแยกทางไปบ้านแจ้งเจริญ-โสมเชือก 6.5 กิโลเมตร ผ่านบ้านวังคำแคน จะถึงบริเวณที่ตั้งของหินขนาดใหญ่ จำนวนหลายแท่งและกลุ่มหินอีกจำนวนมาก ขนาดลดหลั่นกันใหญ่บ้างเล็กบ้าง ขึ้นอยู่ประปรายในพื้นที่เทือกเขา "ภูแลนคา" รวมระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร

   น้ำตกตาดโตน



น้ำตกตาดโตน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดชัยภูมิ ห่างจากตัวจังหวัดชัยภูมิไปทางทิศเหนือ 21 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่สวยงาม ที่ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติตาดโตน ใกล้ที่ทำการอุทยานฯ มีน้ำไหลตลอดปี โดย เฉพาะในฤดูฝนจะสวยงามเป็นพิเศษ ด้านบนเป็นธารน้ำไหลผ่านลานหินสองฝั่งธารร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ เหมาะที่ จะนั่งพักผ่อนชมธรรมชาติและเล่นน้ำ ด้านบนน้ำตกมีสภาพเป็นลานหินกว้างประมาณ 50 เมตร และยาวไปตาม ลำน้ำ ประมาณ 300 เมตร ทำให้น้ำไหลลาดมาตามลานหิน มีแอ่งน้ำที่สามารถเล่นน้ำได้เป็นจุดๆ และไหลลงมาตก ที่หน้าผาเป็นน้ำตกตาดโตนที่มีความสูงประมาณ 6 เมตร และกว้าง 50 เมตร ในฤดูฝน ( ประมาณเดือนมิถุนายน - กันยายน )
บริเวณน้ำตกตาดโตนมี ศาลเจ้าพ่อตาดโตน (ศาลปู่ด้วง) มีประวัติว่า เจ้าพ่อตาดโตนเป็นคนเชื้อสายเขมรอพยพเข้าเมืองไทย ในเวลาใกล้เคียงกับพ่อพระยาแล (พระยาภักดีชุมพล) ท่านบำเพ็ญตนเป็นชีปะขาวยึดมั่นในสมถะ กรรมฐาน ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และช่วยรักษาคนไข้ เป็นที่นับถือเลื่อมใสของราษฎรมาก เมื่อถึงแก่กรรมจึง มีการสร้างศาลขึ้นเพื่อเป็นที่เคารพสักการะไว้หลายแห่ง นอกจากที่น้ำตกตาดโตนแล้วยังมีศาลปู่ด้วงที่ช่อง สาม หมอกและที่วัดชัยภูมิพิทักษ์อีกด้วย มักมีประเพณีรำผีฟ้า ผีทรงบวงสรวงเจ้าพ่อเป็นประจำ มีทางลาดยางตลอดถึงน้ำตก  
สิ่งอำนวยความสะดวก มีบ้านพักและสถานที่กางเต้นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยวในบริเวณน้ำตกจะมีร้านคาราโอเกะและอาหาร ให้คนที่อยาก เปลี่ยนบรรยากาศ คนส่วนมากจะมาที่นี่กันในหน้าแล้งของทุกปีเพื่อคลายร้อนกัน จึงไม่แปลกที่จะเห็นทั้งเด็กและ ผู้ใหญ่แม้กระทั่งวัยไม้ไกล้ผั่ง เพราะบรรยากาศร่มรื่นความ เย็นสบาย แถมมีร้านขาย ของ คอยบริการโทรศัพท์ : (0) 1926 48
     เวลาเปิด – ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
     การเดินทาง
           โดยรถยนต์ส่วนตัว : จากตัวเมืองทางหลวงหมายเลข 2159 และแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2051 ระยะทางจากตัวเมืองถึงที่ทำ การอุทยานฯ ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร หรืออาจใช้เส้นทางหมายเลข 201 ทางไปอำเภอภูเขียว จะมีเส้น ทางแยกซ้ายอีก 21กิโลเมตรไปน้ำตกตาดโตนได้เช่นกัน
           โดยรถโดยสารประจำทาง :  สำหรับผู้ที่เดินทางโดยรถโดยสาร สามารถใช้บริการรถสองแถวสายชัยภูมิ-ท่าหินโงม ลงที่ด่านเก็บค่าธรรมเนียม แล้วเดินเท้า อีก กิโลเมตรถึงที่ตั้งอุทยานเดินเข้าน้ำตกcตาดโตนประมาณ 500 เมตร ตามถนนราดยาง หรือเดิน ลัดเลาะตามโขด

    ทุ่งดอกกระเจียว



ทุ่งดอกกระเจียว ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอ เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ที่นี่นอกจะเป็น ทุ่งดอกกระเจียวถือเป็นไฮไลต์ที่เด่นที่สุดของการมาท่องเที่ยวที่นี่การมาเที่ยวชมที่นี่ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับทุ่งบัวสวรรค์หรือ ดอกกระเจียว ราชินีแห่งมวลไม้ดอกของขุนเขาป่าหินงาม ออกดอกสีชมพูอมม่วง ที่จะทยอยผลิบานเป็นระยะเวลา 2 เดือน ที่ออกปีละครั้ง ชูช่อล้อสายลมและสายหมอก ขึ้นเต็มทั่วผืนป่า ทุ่งดอกกระเจียว ถือเป็นไฮไลต์ท่องเที่ยวช่วงฤดูฝนแห้งแล้ง จะกลับคืนสู่ความเขียวขจี และแต่งแต้มด้วยความ สดใสของกระเจียวที่ผิดอกสีชมพูเต็มทุ่งหญ้ากว้าง ด้วยความงดงามตระการตาของ ดอกสีชมพูอมม่วงขึ้นเต็มไป ทั่วผืนป่า ตัดกับพื้นสีเขียวขจีของหญ้าเพ็ก และโขดหินธรรมชาติ อีกทั้งรูปลักษณ์สวยงามวิจิตรพิสดาร ทำให้เป็นทุ่งดอกกระเจียวใน อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม เป็นทุ่งดอกกระเจียวที่ใหญ่และงดงามที่สุดในประเทศไทย
            เวลาเปิด – ปิด : เปิดประจำทุกปี ในช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม
             การเดินทาง : ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 เมื่อถึงพุแคให้เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 21 จนถึงอำเภอชัยบาดาลให้เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 205 จนถึงอำเภอเทพสถิต ให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 2354 ไปประมาณ 18 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือ มีป้ายบอกไปอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม เลี้ยวซ้ายไปตามถนนลาดยางอีก 13 กิโลเมตรก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
     ปรางค์กู่


             ปรางค์กู่เป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่ง ที่มีแผนผังและลักษณะเหมือนกับโบราณสถานที่ได้พบหลักฐานว่าเป็นอโรคยาศาล ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ก็คือ มีองค์ประธานอยู่ตรงกลาง 1 องค์ บรรณาลัยด้านหน้า 1 หลัง ล้อมด้วยกำแพงซึ่งมีโคปุระเฉพาะด้านหน้าทั้งหมด ก่อด้วยอิฐศิลาแลงยกเว้นกรอบประตูหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับล้วนเป็นหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปรางค์มีสระน้ำ 1 สระ ยังคงสภาพสมบูรณ โดยเฉพาะองค์ประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5 เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตา ด้านหน้ามีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนมาก ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง 1.75 เมตร หน้าตักกว้าง 7.5 เมตร ประดิษฐานอยู่ 1 องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น
     เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน

   การเดินทาง : ใช้ทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ 1 กิโลเมตรจะมีทางแยกเลี้ยวขวาเข้าปรางค์กู่ตามทางหลวงหมายเลข 2158 เป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร โดยจะเห็นวัด (ศาสนสถาน)ชื่อว่าวัดปรางค์กู่ฃ

     ใบเสมาบ้านกุดโง้ง



              ใบเสมาบ้านกุดโง้ง เป็นสถานที่รวบรวมใบเสมาที่พบในบริเวณรอบๆ หมู่บ้าน โดยนำมาเก็บรักษาไว้ในอาคารไม้ที่ปลูกสร้างทางด้านซ้ายของโรงเรียนบ้านกุดโง้ง ใบเสมาทั้งหมดทำด้วยหินทราย มีลักษณะเป็นแผ่นขนาดค่อนข้างใหญ่ และบางแผ่นมีจารึกอยู่ที่ด้านหลังด้วย เฉพาะที่สลักลวดลายเก้บรักษาไว้ในอาคาร ชนิดแผ่นเรียบและรูปสถูปปักไว้ที่พื้นด้านนอก ส่วนมากลวดลายเอป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนาเรื่องชาดกตอนต่างๆ มี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-15
      เวลาเปิด – ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน

      การเดินทาง : ใช้ทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ 12 กม. ถึงบ้านกุดตุ้มเลี้ยวขวาเข้าทางสายกุดตุ้ม-บุ้งคล้า เข้าไปตามทางจนถึงหมู่บ้านกุดโง้ง
พระธาตุหนองสามหมื่น



              พระธาตุหนองสามหมื่น เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญและน่าสนใจมากแห่งหนึ่งของชัยภูมิ ตั้งอยู่ที่บ้านแก้ง พระธาตุหนองสามหมื่น เรียกชื่อตามหนองน้ำ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระธาตุที่มีลักษณะสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชแห่งราชอาณาจักรลาว พระธาตุหนองสามหมื่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความสูงประมาณ 45 เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน เหนือฐานเขียงเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์พระธาตุ ซึ่งมีซุ้มทั้งสี่ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง และปางลีลา ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รูปแบบดังกล่าวอาจเปรียบเทียบได้กับพระธาตุอื่นๆ ทั้งในนครเวียงจันทน์และในเขตไทย เช่น พระธาตุวัดเทพพล เมืองเวียงคุก จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีเมือง นครเวียงจันทน์ เป็นต้น
ประเพณีรำผีฟ้า เป็นการรำบวงสรวงเป็นกลุ่มๆ ที่ภูพระ ซึ่งมีพระเจ้าองค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปแกะสลักหินทราย สูงประมาณ 2 เมตร ชาวบ้านเชื่อว่า มีความศักดิ์สิทธิ์มาก การรำบวงสรวงนี้ จะมีขึ้นในระหว่างวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 5 คือเดือนเมษายน และในวันเข้าพรรษา วันออกพรรษา ซึ่งจะมีประชาชนไปทำบุญเป็นจำนวนมาก
     เวลาเปิด – ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน

   การเดินทาง : ใช้ทางหลวงหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูเขียวไปจนถึงบ้านหนองสองห้องระยะทาง 80 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2055 ประมาณ 9 กิโลเมตร ถึงบ้านแก้งเลี้ยวซ้ายไปวัดพระธาตุหนองสามหมื่นระยะทาง 5 กิโลเมตร

    เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว



        มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ป่าในเขตอำเภอคอนสาร เกษตรสมบูรณ์ และหนองบัวแดง มีพื้นที่ประมาณ 1,125,000 ไร่ ดูแลด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า การเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง เก้ง กวาง และเนื้อทราย เป็นต้นโดยปล่อยสัตว์ให้อาศัยอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ สามารถสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ได้เอง
           ได้มีการจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติสำหรับผู้สนใจศึกษาธรรมชาติอย่างใกล้ชิด สถานที่น่าสนใจในเขตรักษาพันธุ์ฯ ได้แก่ ทุ่งกระมัง ,ลำน้ำพรม,น้ำตกตาดคร้อ,น้ำตกห้วยหวาย,น้ำตกนาคราช และผาเทวดา
     เวลาเปิด – ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน 08.0015.00 น.
     การเดินทาง : ไปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวใช้เส้นทางเดียวกับเขื่อนจุฬาภรณ์ ก่อนถึงเขื่อน 3 กิโลเมตร มีทางเลี้ยวซ้ายจากด่านตรวจ (ปางม่วง) ไปยังที่ทำการเขตฯ อีก 24 กิโลเมตร
     ค่าใช้จ่าย : ผู้ใหญ่คนละ 20 บาท นักเรียนคนละ 10 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท รถยนต์คันละ 30 บาท จักรยานคันละ 10 บาท จักรยานยนต์คันละ 20 บาท รถหกล้อ 100 บาท

    จุดชมวิวเทือกเขาพังเหย



            เทือกเขาพังเหย อยู่ริมทางหลวงหมายเลข 225 (ชัยภูมิ-นครสวรรค์) ประมาณกิโลเมตรที่ 70 เป็นที่แวะจอดพักรถยนต์และชมทิวทัศน์ข้างทาง มีร้านขายของท้องถิ่นของชาวชนบท จะเห็นทิวทัศน์ช่วงยามเย็นอาทิตย์อัสดง นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีเวลาน้อยได้เดินชมทุ่งบัวสวรรค์ขนาดเล็ก ๆ และเดินศึกษาธรรมชาติเองอีกด้วย
 มีชมทิวทัศน์ข้างทาง มีร้านขายของท้องถิ่นของชาวชนบท จะเห็นทิวทัศน์ช่วงยามเย็นอาทิตย์อัสดง นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีเวลาน้อยได้เดินชมทุ่งบัวสวรรค์ขนาดเล็ก ๆ และเดินศึกษาธรรมชาติเองอีกด้วย
     วันเวลาเปิด – ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
    การเดินทาง : ใช้ทางตามทางหลวงหมายเลข 1 เมื่อถึงพุแคให้เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 21 จนถึงอำเภอชัยบาดาลให้เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 205 จนถึงอำเภอเทพสถิต ให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 2354 ไปประมาณ 18 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือ มีป้ายบอกไปอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม เลี้ยวซ้ายไปตามถนนลาดยางอีก 13 กิโลเมตรก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

    ถ้ำแก้ว



             ถ้ำแห่งนี้อยู่ภายในบริเวณวัดถ้ำแก้ว ลักษณะของถ้ำคล้ายห้องโถงลึกลงไปในภูเขา บรรยากาศเย็นและชื้นตลอดเวลา มีไฟฟ้าให้แสงสว่างภายในถ้ำ จากปากถ้ำมีทางเดินลงลึกไปถึงด้านล่าง ซึ่งมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่และมีหินย้อย อยู่ตามผนังถ้ำ เมื่อต้องแสงเกิดเป็นประกายแวววาวสวยงาม
         เวลาเปิด – ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
        การเดินทาง : จากอำเภอภักดีชุมพลไปทางทิศเหนือ 9 กิโลเมตร ตามทางหลวง 2359 ถึงบ้านซับเจริญมีทางเลี้ยวซ้ายไปอีก 5 กิโลเมตร

ผาเกิ้ง


              ผาเกิ้ง เป็นชื่อของหน้าผาที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นมาเป็นเวลานาน เพราะตั้งอยู่ระหว่างภูเขาสองลูกมาบรรจบกัน บางครั้งอาจจะมีผู้คนเรียกตรงนี้ว่าช่องบุญกว้าง แต่ชื่อที่เรียกติดปากชาวบ้านทั่วไป คือ ผาเกิ้ง ซึ่งมีความหมายว่า ผาที่มีลักษณะเหมือนพระจันทร์ เพราะที่บริเวณหน้าผานั้น มีหินก้อนใหญ่เป็นชะง่อยยื่นออกไป ลักษณะครึ่งวงกลม ชาวบ้านมองดูแล้ว เหมือนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว จึงเรียกผานี้ว่า ผาเกิ้ง คำว่า เกิ้ง เป็นคำภาษาอิสานแท้ ซึ่งชาวภาคอิสานเรียกดวงจันทร์ว่า "อีเกิ้ง"
     วันเวลาเปิด – ปิด : เปิดให้บริการทุกวัน
      การเดินทาง : ผาเกิ้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 36 กิโลเมตร ริมหลวงหมายเลข 2159 (ชัยภูมิ-หนองบัวแดง) เป็นส่วนหนึ่งของภูแลนคา

    เขื่อนจุฬาลงกรณ์



            เขื่อนจุฬาภรณ์ (เขื่อนน้ำพรม) ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร สร้างปิดกั้นลำน้ำพรมบนเทือกเขาขุนพาย ลักษณะเขื่อนเป็นเขื่อนหินทิ้ง แกนกลางเป็นดินเหนียว ตัวสันเขื่อนยาว 700 เมตร ความสูงจากฐานราก 70 เมตร เป็นลักษณะเขื่อนเอนกประสงค์ ในความดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าและ ยังอำนวยประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม ในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดอีกด้วย นอกจากนี้ บริเซรโดยรอบของเขื่อนยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกคือ
          พระพุทธสิริสัตตราชจำลอง (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) ประดิษฐานที่บริเวณหัวเขื่อนฝั่งซ้าย ตรงข้ามสวนเขื่อนจุฬาภรณ์ สวนเขื่อนจุฬาภรณ์ ตกแต่งเป็นป่าอนุรักษ์ ในพื้นที่ประมาณ 41 ไร่ มีไม้ป่านานาชาติพร้อมศาลาพรมพิสมัยสำหรับนั่งพักผ่อน ทางเดินภายในสวนปูพื้นด้วยหินธรรมชาติ มีพืชโบราณ 325 ล้านปี เป็นพืชตระกูลหญ้ามี 2 สายพันธุ์ คือ สามร้อยยอดและสนหางม้าหรือหญ้าถอดปล้อง
           ศาลาชมวิวหลุบควน เป็นจุดชมวิวอยู่ที่ระดับความสูง 800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีสถานที่กางเต็นท์พักแรมและแคมป์ไฟ บริเวณริมอ่างเก็บน้ำ
           สถานริมน้ำข้างพระตำหนัก มีบรรยากาศสงบร่มรื่น สามารถมองเห็นสันเขื่อนได้ นอกจากนี้ยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆอีกเช่น ทุ่งกะมัง สถานีวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว สวนรุกขชาติน้ำผุดทับลาว ถ้ำค้างคาวภูผาม่าน เป็นต้น
           สิ่งอำนวยความสะดวก ภายในบริเวณเขื่อนมีบ้านพัก ร้านอาหารไว้รับรองนักท่องเที่ยว เรือสำหรับให้ล่องชมอ่างเก็บน้ำ มีจุดชมวิวทิวทัศน์เหนือเขื่อน ศูนย์ทดลองพืชเมืองหนาว และหอดูดาว ติดต่อบ้านพักรับรองของกฟผ. โทร. 0 2436 6046-80 4486 1669 ต่อ 2287 ,2293 บริการสนามกอล์ฟ ติดต่อได้ที่ โทร. 0 4338 4969 ต่อ 2630
     การเดินทาง : จากตัวเมืองชัยภูมิ ใช้เส้นทางสายชัยภูมิ-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 201) ถึงทางแยกหนองสองห้อง เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 2055 รวมระยะทางจากตัวเมืองชัยภูมิประมาณ 120 กิโลเมตร หรือหากเดินทางมาตามเส้นทางสายหล่มสัก-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12) เมื่อถึงบริเวณอำเภอคอนสารมีทางแยกไปเขื่อนจุฬาภรณ์อีก 39 กิโลเมตร

    ร้านอาหาร

             ชาวประมง




          ร้านอาหารชาวประมง ร้านอาหารเจ้าดังประจำจังหวัดชัยภูมิ ให้บริการทั้งอาหารไทย พื้นบ้าน โดยเฉพาะอาหารพื้นเมืองที่ขึ้นชื่ออย่างมากสำหรับร้านนี้ ร้านตกแต่งสวยงาม กว้างขวาง โล่ง โปร่ง จนสามารถที่รองรับงานจัดเลี้ยงได้ ร้านบรรยากาศดี อาหารอร่อน เน้นการบริการเป็นกันเอง
ที่ตั้ง : 1 ม.10 กม90-91 อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ 36000
โทรศัพท์ : 044-852-660, 086-248-4388
เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน 09:00 - 21:00 น.
การเดินทาง : ใช้ถนนตรงเข้าอำเภอ จัตุรัส

             ข้าวต้มใบเตย



          ร้านข้าวต้มใบเตย ที่ให้บริการทั้งอาหารไทย อาหารจีน รวมไปถึงสารพัดสารพัดเมนูที่รับประทานกับข้าวต้ม ร้านใหญ่กว้างขวาง สามารถจะรองรับงานจัดเลี้ยงได้ ภายในตกแต่งสวยงาม มีที่ให้เลือกนั่งหลายโซนทั้งภายนอกคล้ายกับสวนอาหาร หรือภายในที่เปิดแอร์เย็นฉ่ำ อีกทั้งยังมีดนตรีสดเล่นให้ฟังขณะทานอาหารมื้ออร่อยอีกด้วย
ที่ตั้ง : 142/17 หมู่ 17 ถนนราชพฤกษ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 36000
โทรศัพท์ : 044-813543 หรือ 081-483-1616
เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการวันจันทร์-เสาร์ 16.00 - 24.00 น. (หยุดวันอาทิตย์)
การเดินทาง : ใช้ถนนราชพฤกษ์


             บ้านตุลย์



           บ้านตุลย์ ร้านที่อยู่คู่เมืองชัยภูมิมานาน ให้บริการอาหารไทย มีเมนูให้เลือกหลากหลาย โดยสูตรอาหารคิดค้นมาจากเจ้าของร้านแทบทั้งสิ้น ร้านตกแต่งเรียบ เน้นบรรยากาศสบาย ให้การบริการที่เป็นกันเอง
ที่ตั้ง : 272/31 หมู่บ้านกระจ่างพงษ์ ถ.โนนไฮเมืองเก่า อ.เมือง จ.ชัยภูมิ 36000
โทรศัพท์ : 094-159-2563
วันเวลาเปิด-ปิด : วันอาทิตย์-พฤหัสบดี 09.00-15.00 น. (หยุดวันศุกร์-เสาร์)
การเดินทาง : ใช้ถนนโนนไฮเมืองเก่า

ที่พัก

       โรงแรมและรีสอร์ท 

โรงแรมเมเจอร์แกรนด์ Major Grand Hotel 







            พักผ่อนอย่างมีความสุขกับโรงแรมมาตรฐานระดับสากล โรงแรมเมเจอร์แกรนด์ บริการอินเตอร์เน็ตฟรี ฟิตเนส สระว่ายน้ำ สปา นวดแผนไทย คาราโอเกะ และ ลานเบียร์ ภัตตาคารบริการอาหาร ไทยจีนฝรั่งญี่ปุ่น ห้องจัดเลี้ยง และ ห้องประชุมขนาดใหญ่ จุคนได้มากกว่า 2,000 คน พร้อมระบบแสง สี เสียง ระดับมาตรฐานครบครัน
ที่ตั้ง : 1 หมู่ 10 ชุมแพ-ภูเขียว อำเภอ ชุมแพ จังหวัดชัยภูมิ
ราคา : 1,000-4,000 บาท
จองที่พัก : โรงแรมเมเจอร์แกรนด์(Major Grand Hotel) - ชัยภูมิ แบบ online ได้ทันที

เดอะ รูม รีสอร์ท The Room Resort 




            เดอะ รูม รีสอร์ท ชัยภูมิ อพาร์ทเม้นท์สไตล์รีสอร์ท ออกแบบทันสมัย อากาศถ่ายเทสะดวก แม้กลางวันไม่เปิดแอร์ยังมีลมพัดเย็นสบาย พร้อมสวนสวยบรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบไม่พลุกพล่าน เหมาะแก่การพักผ่อน สะอาดและปลอดภัย เรามีห้องพักหลายรูปแบบ Studio, Connect Room, Suite,Duplex ซึ่งน่าจะเหมาะกับท่านที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน เรามีบริการ Hi-Speed internet และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นที่ไม่คิดค่าบริการแล้ว
ที่ตั้ง : 268 หมู่ 3 ตำบลไชยสอ อำเภอชุมแพ จังหวัดชัยภูมิ
ราคา : 900-1,000 บาท
จองที่พัก : เดอะ รูม รีสอร์ท - ชัยภูมิ แบบ online ได้ทันที

สตาร์ไทเกอร์ รีสอร์ต 1 (Star Tiger Resort 1) 



        "สตาร์ไทเกอร์ รีสอร์ต 1" ชัยภูมิ ให้บริการที่พักคุณภาพในย่านกิจกรรมทางวัฒนธรรม, ธุรกิจ, การเที่ยวชมทิวทัศน์ของ ชัยภูมิ จึงได้รับความนิยมจากทั้งนักธุรกิจและนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักผ่อน ด้วยที่ตั้งห่างจากใจกลางเมืองเพียง 8 km ผู้เข้าพักสามารถเพลิดเพลินกับกิจกรรมที่หลากหลายและแหล่งท่องเที่ยวมากมายของเมืองได้ ด้วยทำเลที่สะดวกสบายของโรงแรม คุณสามารถเดินทางไปยังสถานที่ที่ต้องไปชมให้ได้ของเมืองได้อย่างง่ายดาย ผู้เข้าพักสามารถเลือกห้องพักจาก 30 ห้อง ทุกห้องให้ความรู้สึกสงบและกลมกลืนอย่างแท้จริง รื่นรมย์ได้ตลอดวันกับบรรยากาศผ่อนคลายของ สวน สตาร์ไทเกอร์ รีสอร์ต 1 เป็นสถานที่ในฝันในการพักผ่อนสำหรับนักท่องเที่ยวผู้แสวงหาความน่าหลงใหล ความสุขสบาย และความสะดวกใน ชัยภูมิ
ที่ตั้ง : 162 หมู่4, ตัวเมืองชัยภูมิ, ชัยภูมิ, ประเทศไทย 3600
ราคา : 420 บาท

จองที่พัก : สตาร์ไทเกอร์ รีสอร์ต 1 (Star Tiger Resort 1) - ชัยภูมิ แบบ online ได้ทันที